วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Ruby หุ่นยนต์แก้ Rubik ได้ใน 10.69 วินาที !!! (แต่ยังแพ้คนอยู่ดี)


ถ้าพูดถึงการแก้ Rubik ในเวลา 10 วินาที คงมีเพียงหุ่นยนต์ไม่กี่ตัวเท่านั้นที่มีความสามารถพอที่จะแก้ได้ แต่กลุ่มนักเรียนของ มหาวิทยาลัย Swinburne University of Technology คิดว่าพวกเขาสามารถทำหุ่นยนต์ที่แก้ Rubik ได้เร็วที่สุดในโลก โดยเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้มืชื่อว่า Ruby สามารถแก้ Rubik ได้ในเวลาเพียง 10.69 วินาที ที่รวมเวลาในวิเคราะห์ Rubik ด้วย ซึ่งใช้กล้องกล้องเว็บแคมสแกนสีของ Rubik และหาวิธีแก้ด้วย Software ซึ่งได้ทำลายสถิติเก่าที่หุ่นยนต์เคยทำไว้ 18.2 วินาที แต่ก็ยังคงไม่สามารถชนะเจ้าหนู Feliks Zemdegs อายุ 16 ปี ชาวออสเตเรีย ที่ทำสติไว้ที่ 6.24 วินาทีได้





Treebot หุ่นยนต์ปีนต้นไม้


Treebot เป็นหุ่นยนต์ปีนต้นไม้ ที่ถูกออกแบบและพัฒนาจากทีมของมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (The Chinese University of Hong Kong) เพื่อปีนขึ้นต้นไม้ได้อย่างอัตโนมัติ หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการปีนขึ้นต้นไม้ โดยใช้เซนเซอร์ที่อยู่ใต้ตัวหุ่นยนต์ ลำตัวของหุ่นยนต์ออกแบบมามีลักษณะคล้ายหนอน คือ เคลี่อนที่ด้วยการยืดและหดตัว เพื่อปีนขึ้นไปบนต้นไม้ โดยเจ้า Treebot สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 3.7 ปอนด์ และปีนต้นไม้ได้หลากหลายประเภท หลากหลายขนาดด้วย


วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

EzybotและTESA ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมและดินถล่ม ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

พวกเราและTESA

วันนี้ผมจะนำภาพบรรกาศที่พวกเรา EzyBot ร่วมกับ TESA (สมาคมสมองกลฝังตัวแห่งประเทศไทย) ได้ไปสำรวจและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมและดินถล่ม ณ หมู่ 15 ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ณ วันที่ 30 พค. - 1 เม.ย 54 กันครับ ซึ่งครั้งนี้เราได้รับเกียรติจาก ผศ.อภิเนตร อูนากูล นายกสมาคมสมองกลฝังตัวแห่งประเทศไทย ร่วมมากับเราในครั้งนี้ด้วย


บรรยากาศรอบๆ ราบไปหมด...

ภาพแรกที่ผมเริ่มเข้าเขตพื้นที่ประสบภัยเลยก็คือว่า...มันแย่มากครับ !!! ต้นไหมโค้นลม ลำธารน้ำกลายเป็นธารโคลน ถนนเสียหาย สะพานชำรุด ถนนถูกสร้างขึ้นมาใหม่ (จากความช่วยเหลือของทหารช่าง) สภาพเหมือนที่ญี่ปุ่นโดนสินามิเลยครับ

ณ บ้านป้าพร

พวกเราได้ไปพักอยู่ที่บ้านคุณลุงละเอียดและป้าพร (ผู้นำหมู่บ้าน) และได้รับการอำนวยความสะดวกต่างๆจาก ชมรมอาสา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและกำลังจะทำค่ายสร้างเพื่อฟื้นฟู ณ ที่เดียวกับเรากำลังจะไปพอดี

ภาพบรรยากาศเก่าๆ ก่อนประสบอุบัติภัยธรรมชาติ

การที่พวกเราไปครั้งนี้ ก็ได้นำของใช้ เสื้อผ้า และเงินไปบริจาคให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อน ไปช่วยทำความสะอาดโรงเรียน ซ่อมถนนที่ชำรุด สร้างห้องน้ำ สร้างสะพาน และสำรวจพื้นที่ประสบภัยครับ ทำให้เราได้ทราบความเดือดร้อนของชาวบ้านที่นั้น และทราบถึงธารน้ำใจของพวกเราชาวไทย ที่หลั่งไหลกันช่วยเหลือเพื่อนชาวไทยกันอย่างล้นหลามเช่นกัน

จากการที่เราได้พูดคุยกับชาวบ้าน ทำให้เราได้รับได้ทราบถึงความเดือนร้อนของชาวบ้านของที่นี้เป็นอย่างมาก จึงอยากฝากเพื่อนๆทุกวันไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับว่า ถ้าใครพวกจะช่วยเหลือได้ ก็ช่วยเหลือกันนะครับ ใครมีเงิน ลงเงิน ใครมีแรง ลงแรง...เราคนไทย รักกัน ไม่ทอดทิ้งกันนะครับ


***สำหรับผู้ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ยังสามารถบริจาคได้ >>ที่นี่<< เลยครับ***




แผนที่ ตำแหน่งที่เราไปสำรวจ โดยพี่หลี ครับ


ประชุมก่อนเริ่มงาน


พวกเราเอง


บ้านชาวบ้านที่เสียหายจากภัยพิบัติ (แต่ในรูปหลวงยังปลอดภัยดี)


ด้านล่างกลายเป็นทะเลโคลน


พี่ทิ้งผู้นำทีมสำรวจ ชี้สภาพที่เคยเป็นบ้านชาวบ้านมาก่อน


เส้นทางที่ถูกดินและหินถล่ม


บ้านพังทั้งหลัง


บ้านชาวบ้านที่เสียหาย


การเดินทางที่ต้องลัดไปตามไหล่เขา เพราะทางขาด

อ.อภิเนตร พักที่สำนักสงฆ์ หลังจากเดินทางมาไกล


สภาพน้ำตกเสียหายมาก

พวกเรามาสำรวจน้ำตกและพักผ่อน

ประกวด Hexapod Dance....

ช่วงนี้ มีโปรเจคอยากทำเจ้า Hexapod เล่นๆ เพื่อจะได้หัดให้ servo ให้มันคล่องๆ หน่อยๆ หาข้อมูลไปมา ก็อยากทำตัวนี้แหละครับ

มันเล็กๆ น่าร๊ากก ดี ที่สำคัญ servo ตัวเล็ก ประหยัดตังหน่อย อิอิ...ของแบบนี้มันต้องเศษฐกินพอเพียงครับ

แต่ดูไปเพลินๆ ไปเจอโคงการที่เค้าจับเจ้าพวก 6 ขาเนี่ยมาประกวดเต้นสะงั้นครับเห็นน่าร๊ากกก ดีครับเลยเอามาฝากกันหน่อย โปรเจคนี้เค้าก็จัดกันมาตั้งสองปีแระ 2009 กับ 2010 ไม่รู้ปีนี้จะจัดสะช่วงไหนเอาละใครมี ไอเดียเจ๋งๆ นี่น่าเข้าไปร่วมแจมนะครับ หึๆๆๆๆ




วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การทำ PCB Library ในโปรแกรม Altium

สำหรับบทความนี้นะครับจะนำเสนอการทำ PCB Library นะครับ เผื่อใครออกแบบวงจร PCB โดยใช้ Altium แล้วเกิดอาการหาอุปกรณ์ นู่น นี่ นั่น ไม่เจอนะครับ แล้วอยากจะทำ PCB Library เพื่อเติมเองนะครับ ในที่นี้ได้อ้างอิงการทำงานโดยใช้โปรแกรม Altium Designer Summer 09 นะครับ เรามาเริ่มกันเลยครับ....

1. เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้วให้ไปที่ File -> New -> Library -> PCB Library ครับ คลิกเลยเพื่อสร้าง


2. ใน Workspace Panel (Projects) นั้นสังเกตว่าจะมีไฟล์ PcbLib1.PcbLib เกิดขึ้นมาภายใต้ Folder Libraries


3. ดับเบิ้ล-คลิกไฟล์ PcbLib1.PcbLib จะได้พื้นที่ทำงานหน้าตาเป็นตารางๆ (Grid) สีเทา


4. ทำการกำหนดค่า Grid และ Snap Grid เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ โดยเราจะเปลี่ยนให้อยู่ในหน่วย มิลลิเตร เพื่อความคุ้นเคย โดยมีวิธีการดังนี้ คลิกขวาที่พื้นที่ว่าง เลือก Library Option จากนั้นกำหนดค่าตามรูป (Unit->Metric, Snap x-> 0.1mm, Snap y-> 0.1mm, Grid1->1mm, Grid2->10mm, Range->0.1mm) จากนั้นคลิกปุ่ม OK


5. สำรวจแถบเครื่องมือด้านบนเพื่อใช้สร้างอุปกรณ์ให้เรียบร้อย


6. ทำการวาดตัว PCB Library โดยมุมมองที่วาดจะเป็น Top View ให้วาดโดยมีขนาดให้เท่ากับอุปกรณ์ที่จะสร้าง โดยอ้างอิงขนาดจริงของจริง หรือเอกสารประกอบการใช้งาน(Mannual)


7. ทำการวาง Pad ในตำแหน่งที่จะเจาะรู หรือมีเหตุให้ต้องทำการลงตะกั่ว พร้อมทั้งตั้งค่า Pad ให้เหมาะสมและเรียบร้อย (คลิกขวาที่ Pad เลือก Property) และทำการเปลี่ยนชื่อ Pad ให้เรียบร้อยเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ


8. ที่ PCB Library ทางด้านซ้าย ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อ เพื่อเปลี่ยนชื่ออุปกรณ์ตามต้องการ ในที่นี้ใช้ชื่อว่า PCB_SW


9. ทำการเซฟให้เรียบร้อย
10. ทำการสร้าง SCH Library โดยไปที่ File -> New -> Library -> Schematic Library


11. ทำการสร้าง SCH สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการ โดยจำนวนขาควรเท่ากับรูที่ได้ทำไว้ที่ PCB Library
12. ทำการวางขาอุปกรณ์ โดยไปที่เมนูดังรูป


13. ในที่นี้วางไว้ 4 ขา


14. ทำการกำหนดชื่อขา โดยดับเบิ้ลคลิกที่แต่ละขา


15. วางกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อความสวยงาม


16. ให้กรอบสี่เหลี่ยมอยู่ด้านล่างขาให้คลิกที่กรอบสี่เหลี่ยม Edit -> Move -> Send To Back


17. ทำการเพิ่ม Footprint ลงใน SCH Library โดยไปที่ Panel SCH Library แล้วคลิกที่ Edit ในส่วนของ Component
18. ทำการกำหนดค่าต่างๆ โดย Default Designator คือชื่อนำหน้าอุปกรณ์เวลาวางอุปกรณ์ในงาน ส่วน Symbol Reference คือชื่อที่ใช้อ้างอิง จากนั้นกดปุ่ม Add เพื่อเพิ่ม Footprint จากนั้นเลือก Footprint แล้วกด OK


19. ในส่วน Footprint Model เลือก Browse… เลือก Footprint ที่เราได้สร้างไว้ จากนั้นคลิก OK


20. หากต้องการตั้งค่า ขา Pin กับ รู ที่ PCB ให้ตรงกันหรือเป็นไปตามที่ต้องการให้คลิก Pin Map … คลิก OK


21. เสร็จสิ้น
22. เมื่อนำไปใช้งานให้ Import ไฟล์ sch ที่ทำไว้ ก็จะมีอุปกรณ์ที่เราได้ทำไว้เพิ่มขึ้นมา


ไม่ยากใช่ไหมครับ (รึเปล่าฟะ) ถ้ามีอะไรสงสัยถามได้เลยนะครับ แล้วพบกันไหมครับ
By Sanaki