วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเตรียมตัวเพื่อเข้าแข่งขันหุ่นยนต์

การเตรียมตัวเพื่อเข้าแข่งขันหุ่นยนต์รายการต่างๆ

เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ประเทศเรามีการแข่งขันหุ่นยนต์มากขึ้น และน้องๆก็ได้ให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก ถือเป็นการก้าวเดินครั้งสำคัญของประเทศไทย ที่จะพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์ให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ
วันนี้พี่เลยมีคำแนะนำบางอย่างให้กับน้องๆที่สนใจในการแข่งขันหุ่นยนต์รายการต่างๆนะครับ ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เตรียมตัวอย่างไร และสิ่งที่จำเป็นมีอะไรบ้าง หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับน้องๆนะครับ

1 เพื่อนร่วมทีม
เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะการทำหุ่นยนต์ให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน ช่วยเหลือกัน คอยให้กำลังใจกัน แน่นอนว่าย่อมดีกว่าเราทำงานคนเดียวแน่ น้องๆลองนึกดูนะครับว่า คนๆเดียวที่ทำงานอยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อนร่วมทีมเลย ต่อให่เก่งมากแค่ไหน ก็สู้กลุ่มคนที่ทำงานกันเป็นทีมไม่ได้ ต่อให้คนในกลุ่มไม่เก่งมาก แต่ก็มีหลายคอยเวลาเจอปัญหาอะไร ก็สามารถช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขปัญหา ดีกว่าทำงานคนเดียวเยอะเลยครับ
ดังนั้นตอนนี้น้องที่อย่างทำหุ่นยนต์เพื่อเข้าแข่งขันยังไงก็ มองๆเพื่อนร่วมทีมไว้นะครับ หาเพื่อนที่เชื่อใจได้ เพื่อนที่พร้อมจะลุยไปกับเรา ไม่ว่าจะเจอปัญหาหนักเท่าไรก็ไม่ทิ้งกันไปไหน ถ้ามีเพื่อนร่วมทีมดีๆ อะไรก็ไม่ต้องกลัวครับ

2 ศึกษากติกา
ก่อนจะลงแข่งขันหุ่นยนต์ซักรายการหนึ่ง ต้องศึกษากติกาของรายการแข่งขันนั้นๆให้ดีเสียก่อน ยิ่งเรารู้ เราเข้าใจกติกามากเท่าไร ยิ่งทำให้เรามองภาพการแข่งขันออก วางแผนการเล่นถูก ออกแบบหุ่นยนต์ได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้น ขั้นต่อมาเมื่อเราหาเพื่อนร่วมทีมได้แล้ว คือการศึกษากติกาครับ ยกตัวอย่างเช่น
- ขนาดที่กำหนดของหุ่นยนต์
- ข้อห้ามต่างๆ
- การแพ้ชนะ
- การนับคะแนน
- สนาม

3 วางแผนการเล่น
หลังจากเราได้เข้าใจกติกาของรายการแข่งขันหุ่นยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้วขั้นต่อมาที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ วางแผนการเล่นครับ ว่าจะทำอย่างไรถึงจะได้เปรียบ ทำอย่างไรถึงจะชนะในการแข่ง ลองคุยกันกับเพื่อนในทีมดูครับว่าทีมของเรานั้นต้องการเล่นแบบใด ต้องการทำคะแนนยังไง หรือแม้กระทั้งจะรับมือคู่ต่อสู้อย่างไร แผนการเล่นที่เราคิดได้หลังจากศึกษากติการมาเป็นอย่างดีแล้วถือว่าเป็นอาวุธชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งเลย คือต่อให้ทีมอื่นทำหุ่นยนต์มาดีหรือมีความสามารถมากแค่ไหนถ้าไม่ได้วางแผนการเล่นมา ก็อาจแพ้ให้กับทีมของเราที่ทำหุ่นยนต์แบบธรรมดาแต่เรามีแผนการเล่นที่เฉียบคมได้ครับ

4 ออกแบบหุ่นยนต์ตามแผนการเล่น
เมื่อได้แผนการเล่นมาแล้วสิ่งต่อมาที่ต้องทำคือ การออกแบบหุ่นยนต์ครับ การออกแบบนี้จะอ้างอิงกับแผนการเล่นที่เราได้คิดมา หลักการออกแบบง่ายๆคือ คิดว่าถ้าเราต้องการจะทำตามแผนการเล่นที่ได้วางไว้แล้ว หุ่นยนต์ของเราจะต้องทำอะไรได้บ้าง ? เช่นว่า
- หุ่นยนต์ของเราควรจะวิ่งช้า หรือว่าเร็วแค่ไหน
- เราจะใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการสร้าง
- ขนาดของหุ่นยนต์
- หากมีการหยิบจับสิ่งของจะใช้กลไกอะไร
- ต้องทำหุ่นยนต์ขึ้นมากี่ตัว แต่ละตัวทำหน้าที่อะไรบ้าง
- จะใช้แหล่งจ่ายพลังงานแบบไหนถึงจะเพียงพอในการแข่งขัน
ในการออกแบบหุ่นยนต์นี้ไม่ได้กล่าวถึงการออกแบบโครงสร้างของหุ่นยนต์แต่เพียงอย่างเดียวนะครับ แต่รวมไปถึงการออกแบบวงจรอิเล็คทรอนิกส์ที่จะใช้กับหุ่นยนต์ของเราด้วย ว่าต้องใช้วงจรอะไรบ้าง ใช้มอเตอร์กี่ตัว หรือจะวางวงจรอย่างไร เป็นต้น หรือถ้าหากการแข่งขันหุ่นยนต์ที่เราเข้าร่วมต้องมีการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ด้วย เราก็ต้องออกแบบโครงสร้างของโปรแกรมด้วยนะครับว่าเราจะเขียนอย่างไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
แต่ถ้าหากน้องๆคนไหนที่ไม่เคยทำหุ่นยนต์มาก่อนหรือออกแบบหุ่นยนต์ไม่ถูก พี่แนะนำว่าให้เริ่มต้นออกแบบดูนะครับ อย่างน้อยก็อยากให้ลองคิดดูคร่าวๆก็ยังดี แบบของหุ่นยนต์อาจจะไม่ตรงกับที่เราออกแบบไว้ทั้งหมด แต่ก็ยังดีกว่าเราไม่ได้ออกแบบหุ่นยนต์ของเราเองเลย เพราะการทำแบบนั้นเหมือเราเดินในความมืดเลยครับคือหมายความว่า เราไม่รู้จะเดินไปทางไหน จะทำหุ่นยนต์อย่างไร ต้องซื้ออะไรบ้าง ใช้งบอะไรบ้าง แต่หากเราได้ลองออกแบบดูแล้วข้อดีอีกอย่างของมันก็คือ ทำให้เราประมาณค่าใช้จ่ายในการทำหุ่นยนต์ครั้งนี้ได้ อาจทำให้เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการทำหุ่นยนต์ให้เป็นไปตามงบที่เรามีได้ครับ

5 แบ่งงานและวางตารางเวลา
การบริหารเวลาถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำ โดยคิดว่าทีมของเรามีสมาชิกทั้งหมดกี่คน แต่ละคนมีความถนัดอะไรบ้างจะได้แบ่งงานกันถูกว่าใครจะทำอะไร หรือรับผิดชอบในส่วนไหน รวมทั้งช่วงเวลาที่แต่ละคนจะว่างและสามารถมาทำหุ่นยนต์ได้ ให้น้องๆรวบรวมข้อมูลเหล่านี้แล้วสร้างเป็นตารางเวลาขึ้นมา ว่าขั้นตอนในการทำหุ่นยนต์แต่ละขั้นจะเสร็จเมื่อไร น้องๆต้องบริหารเวลาให้ดี โดยให้งานทั้งหมดที่เราทำเสร็จสิ้นก่อนวันแข่งขัน ข้อแนะนำจากพี่อีกข้อคือ ยิ่งหุ่นยนต์ของเราเสร็จเร็วเท่าไร เรายิ่งมีเวลาซ้อมมากขึ้น ยิ่งมีเวลาให้แก้ไขจุดผิดพลาดต่างๆมากขึ้น จะส่งผลดีกับทีมเราเป็นอย่างมาก

อย่าลืมนะครับน้องๆสิ่งที่พี่ได้แนะนำมาพี่หวังว่ามันจะมีประโยชน์กับน้องที่ตั้งใจจะทำการแข่งขันหุ่นยนต์ในรายการต่างๆ สุดท้ายสิ่งที่จะฝากคือเรื่องของใจครับ น้องๆต้องมีใจสู้ มีความตั้งใจจริงในการทำหุ่นยนต์ ไม่ย่อท้อเมื่อเจอปัญหาต่างๆ ขออวยพรให้น้องทุกคนประสบความสำเร็จในการแข่งขันครับ สวัสดีครับ

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Review : หุ่นยนต์อัตโนมัติ Zeer Robotics Open 2012 [Champion]


หุ่นยนต์เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติเดินตามเส้นครับ บรรทุกของ
ใครบรรทุกได้น้ำหนักมากกว่า ก็ชนะไปครับ
โดยข้อกำหนดคือ
- หุ่นยนต์ต้องมีขนาดไม่เกิน 200 มม. x 200 มม. x 200 มม.
- แข่งขันในเวลา 180 วินาที
- แข่งขันได้ 2 รอบ เอาน้ำหนักที่ได้มากที่สุด (แต่นัดชิงได้แข่งรอบเดียว ^^")
กติกาสามารถดาวโหลดได้ที่นี่ >> ดาวโหลด




  • แนวคิดและการออกแบบหุ่นยนต์
    ก่อนอื่นเราต้องอ่านกติกาให้ละเอียดก่อนครับ ว่าโจทย์ต้องการอะไร เช่น โจทย์นี้ ต้องการหุ่นยนต์แบกน้ำหนัก ผมก็ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้หุ่นยนต์เราแบกน้ำหนักให้ได้มากที่สุด ซึ่งคำถามก็จะมีมากมายตามมาเช่น
    • มอเตอร์ควรใช้ขนาดเท่าไหร่? ความเร็วรอบเท่าไหร่?
    • ล้อหุ่นยนต์จะใช้ล้ออะไรดี? ต้องมีขนาดเท่าไหร่?
    • ขนาดของมอเตอร์และล้อรวมกันจะเกินขนาดที่กำหนดหรือไม่?
    • ล้ออิสระจะวางแบบไหน? ใช้กี่ล้อ?
    • ขับเคลื่อนล้อหน้า?หรือล้อหลัง?
    • วงจรขับเคลื่อนมอเตอร์จะไม่พังหรือใช้งานได้ไหม? ถ้าน้ำหนักเยอะๆ(น้ำหนักหุ่นด้วยนะ)?
    • เซนเซอร์จับเส้นจะออกแบบยังไง? วางตรงไหนดี?
    • แบตเตอร์รี่จะใช้อะไรดี?
    • จะเขียนโปรแกรมอย่างไรดี?
    • จะวางน้ำหนักแบบไหนดี?
  • ผมจะแบ่งส่วนของหุ่นยนต์ออกเป็น 3 ส่วนนะครับ คือ


    1. โครงสร้างหุ่นยนต์ (Mechanics)
    2. วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
    3. โปรแกรม (Programming)




  • โครงสร้างหุ่นยนต์ (Mechanics)โครงสรางเราใช้เวลาในการซื้ออุปกรณ์และทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ภายในเวลา 1 วันนะครับ เนื่องจากเราเพิ่งทราบกติกาและรายละเอียด จึงมีเวลาเตรียมตัวน้อยครับ (ไม่แนะนำให้เอาเป็นแบบอย่างนะครับ)
    1. อคิลิก หนา 4 มม. สีขาว ขนาดประมาณ 20x20 จำนวน 2 แผ่น
    2. อคิลิก หนา 3 มม. สีใส ขนาดประมาณ 20x20 จำนวน 1 แผ่น
    3. มอเตอร์ขนาด 37มม. แกน 6 มม. ความเร็ว 100 รอบต่อนาที (rpm) จำนวน 2 อัน
    4. ฉากยึดมอเตอร์ จำนวน 2 อัน
    5. ล้ออิสระใหญ่ จำนวน 1-2 อัน
    6. หน้าแปลน(แปลงมาทำเป็นล้อหุ่นยนต์แทน) จำนวน 2 อัน
    7. ยางล้อ จำนวน 2 อัน
    8. เสารอง PCB  จำนวน 2 อัน
    9. สกรู น๊อต แหวน ขนาดต่างๆ
  • วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
    ในที่แข่งขันเราใช้อยู่ 4 บอร์ดครับ ทำขึ้นมาเองทุกบอร์ดครับ
    1. วงจรคอนโทรลเลอร์ (Controller) 
    2. วงจรขับมอเตอร์ (Motor Driver)
    3. บอร์ด Interface
    4. วงจรเซนเซอร์
    5. แบตเตอร์รี่ใช้ Li-Po 3 เซลล์  
  • โปรแกรม (Programming)
    เราใช้ภาษาซีในการเขียนโปรแกรมครับ
    • สามารถดาวโหลดโค๊ดไปศึกษาดูได้ครับ >>> ดาวโหลด
  • อัลบั้มภาพ



     
     
     
  • วีดีโอ