วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Review : หุ่นยนต์อัตโนมัติ Zeer Robotics Open 2012 [Champion]


หุ่นยนต์เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติเดินตามเส้นครับ บรรทุกของ
ใครบรรทุกได้น้ำหนักมากกว่า ก็ชนะไปครับ
โดยข้อกำหนดคือ
- หุ่นยนต์ต้องมีขนาดไม่เกิน 200 มม. x 200 มม. x 200 มม.
- แข่งขันในเวลา 180 วินาที
- แข่งขันได้ 2 รอบ เอาน้ำหนักที่ได้มากที่สุด (แต่นัดชิงได้แข่งรอบเดียว ^^")
กติกาสามารถดาวโหลดได้ที่นี่ >> ดาวโหลด




  • แนวคิดและการออกแบบหุ่นยนต์
    ก่อนอื่นเราต้องอ่านกติกาให้ละเอียดก่อนครับ ว่าโจทย์ต้องการอะไร เช่น โจทย์นี้ ต้องการหุ่นยนต์แบกน้ำหนัก ผมก็ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้หุ่นยนต์เราแบกน้ำหนักให้ได้มากที่สุด ซึ่งคำถามก็จะมีมากมายตามมาเช่น
    • มอเตอร์ควรใช้ขนาดเท่าไหร่? ความเร็วรอบเท่าไหร่?
    • ล้อหุ่นยนต์จะใช้ล้ออะไรดี? ต้องมีขนาดเท่าไหร่?
    • ขนาดของมอเตอร์และล้อรวมกันจะเกินขนาดที่กำหนดหรือไม่?
    • ล้ออิสระจะวางแบบไหน? ใช้กี่ล้อ?
    • ขับเคลื่อนล้อหน้า?หรือล้อหลัง?
    • วงจรขับเคลื่อนมอเตอร์จะไม่พังหรือใช้งานได้ไหม? ถ้าน้ำหนักเยอะๆ(น้ำหนักหุ่นด้วยนะ)?
    • เซนเซอร์จับเส้นจะออกแบบยังไง? วางตรงไหนดี?
    • แบตเตอร์รี่จะใช้อะไรดี?
    • จะเขียนโปรแกรมอย่างไรดี?
    • จะวางน้ำหนักแบบไหนดี?
  • ผมจะแบ่งส่วนของหุ่นยนต์ออกเป็น 3 ส่วนนะครับ คือ


    1. โครงสร้างหุ่นยนต์ (Mechanics)
    2. วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
    3. โปรแกรม (Programming)




  • โครงสร้างหุ่นยนต์ (Mechanics)โครงสรางเราใช้เวลาในการซื้ออุปกรณ์และทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ภายในเวลา 1 วันนะครับ เนื่องจากเราเพิ่งทราบกติกาและรายละเอียด จึงมีเวลาเตรียมตัวน้อยครับ (ไม่แนะนำให้เอาเป็นแบบอย่างนะครับ)
    1. อคิลิก หนา 4 มม. สีขาว ขนาดประมาณ 20x20 จำนวน 2 แผ่น
    2. อคิลิก หนา 3 มม. สีใส ขนาดประมาณ 20x20 จำนวน 1 แผ่น
    3. มอเตอร์ขนาด 37มม. แกน 6 มม. ความเร็ว 100 รอบต่อนาที (rpm) จำนวน 2 อัน
    4. ฉากยึดมอเตอร์ จำนวน 2 อัน
    5. ล้ออิสระใหญ่ จำนวน 1-2 อัน
    6. หน้าแปลน(แปลงมาทำเป็นล้อหุ่นยนต์แทน) จำนวน 2 อัน
    7. ยางล้อ จำนวน 2 อัน
    8. เสารอง PCB  จำนวน 2 อัน
    9. สกรู น๊อต แหวน ขนาดต่างๆ
  • วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
    ในที่แข่งขันเราใช้อยู่ 4 บอร์ดครับ ทำขึ้นมาเองทุกบอร์ดครับ
    1. วงจรคอนโทรลเลอร์ (Controller) 
    2. วงจรขับมอเตอร์ (Motor Driver)
    3. บอร์ด Interface
    4. วงจรเซนเซอร์
    5. แบตเตอร์รี่ใช้ Li-Po 3 เซลล์  
  • โปรแกรม (Programming)
    เราใช้ภาษาซีในการเขียนโปรแกรมครับ
    • สามารถดาวโหลดโค๊ดไปศึกษาดูได้ครับ >>> ดาวโหลด
  • อัลบั้มภาพ



     
     
     
  • วีดีโอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น