(สูจิบัตรและบัตรเข้าชม)
วันนี้ผมและผองเพื่อนได้ไปดูละครที่ คณะอักษร จุฬา เป็นครั้งแรกครับ !!!
แน่นอนว่าต้องไม่ใช่ละครธรรมดาๆอย่างแน่นอน
เพราะว่าเราคือ EzyBot เราคือพวกหลงไหลในหุ่นยนต์ กลไก
ก็ละครนี้เป็นละครที่ หุ่นยนต์ แสดงร่วมกับคนจริงๆครับ !!
แค่ฟังชื่อก็อลังการงานสร้างแล้ว ครับ ชื่อเรื่องว่า SA-YO-NA-RA
(ภาษญี่ปุ่นนะครับ ส่วนภาษาไทยแปลว่าลาก่อน)
(รูปประชาสัมพันธ์)
แต่ผมจะนำเสนอในอารมณ์ ความรู้สึก และความคาดหวัง ในมุมมองของนักพัฒนาหุ่นยนต์
(ไม่ใช่นักแสดง นักการละคร หรือศิลปินนะครับ)
อีกอย่างวันนี้เป็นวันแรกครับ ใครที่ยังไม่ได้ดู ยังมีอีกหลายรอบนะครับ
ลองหารายละเอียดดูได้ครับ
เริ่มกันเลยดีกว่าครับ !!!
(โปสเตอร์หน้างาน)
ความรู้สึกก่อนชมส่วนตัวผมเองตื่นเต้นมากครับ !!! ครั้งแรกที่ทราบข่าวว่าหุ่นยนต์ตัวนี้จะมาที่เมืองไทย
เพราะผมได้ติดตามผลงานของ Prof. Hiroshi Isiguro มาสักพักใหญ่ๆแล้ว
(จากบทความนี้ครับ หุ่นยนต์หรือหุ่นคนกันล่ะเนี่ย...ทำซะเหมือนเชียว !!! เมื่อ 8 เม.ย. 54)
(จากบทความนี้ครับ หุ่นยนต์หรือหุ่นคนกันล่ะเนี่ย...ทำซะเหมือนเชียว !!! เมื่อ 8 เม.ย. 54)
เพราะหุ่นยนต์ที่ทำออกมา เหมือนคนจริงๆมากกกกก......ผมเลยอยากรู้ว่าเขาทำมาได้ยังไง?
ตัวเป็นๆหน้าตาเหมือนใน youtube ที่เราเห็นรึเปล่า? กลไกภายในเป็นยังไง?
ใช้อะไรบังคับหุ่นยนต์? มีความสามารถอะไรบ้าง? และคำถามมากมาย ????
ตัวเป็นๆหน้าตาเหมือนใน youtube ที่เราเห็นรึเปล่า? กลไกภายในเป็นยังไง?
ใช้อะไรบังคับหุ่นยนต์? มีความสามารถอะไรบ้าง? และคำถามมากมาย ????
ตอนชม
เนื่องจากกว่าทางผู้จัดไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอระหว่างแสดง
เราจึงไม่ได้มีตัวอย่างมาให้ชมนะครับ
เข้าไปตอนแรกงงครับ...มีโปรเจคเตอร์ข้างๆเวที และมีแต่ภาษาอังกฤษ
นึกในใจ .. "ละครใบ้ป่าวเนี่ย" แต่ไม่น่าใช่ แล้วทำไมต้องมีซับไตเติ้ลด้วย (เริ่มเอ๊ะใจ)
พอละครใกล้เริ่ม... ทั้งห้องมืดสนิท...แสงไฟค่อยๆสาดส่งมากลางเวที
ทันใดนั้น ภาษาญี่ปุ่น สำเนียงคุ้นเคยลอยมาแต่ไกลเลยครับ
มาเต็มครับงานนี้ ญี่ปุ่นล้วน แถมซับยังเป็นซับ อังกฤษ อีกต่างหาก
ละครก็แสดงไปครับ ทั้งเรื่องมีแสดงอยู่ 2 คน คือคนจริงๆกับหุ่นยนต์
เรื่องย่อๆคือ หุ่นยนต์สาวมีหน้าที่เป็นเพื่อน เล่าบทกวีให้เด็กสาวที่ป่วยอยู่ฟังแค่นั้นหล่ะครับ
(อย่าเพิ่งสงสัยว่าผมมั่วรึป่าว...แกฟังออกหร๊าาาา)
ทั้งหมดประมาณ 20 นาทีได้ครับ (เพื่อนข้างๆผมหลับไปตั้งแต่ 5 นาทีแรกแล้วครับ)
ละครจบ...เสียงปรมมือดังลั่นโรงละคร
เรามองหน้ากันเล็กน้อย เห้ย...ไหนก่อนเข้าบอกว่าสัก 40 นาทีไง (หรอกกันชัดๆ)
สักพักมี message จากสวรรค์ผ่านมาทางโปรเจคเตอร์ด้วยข้อความภาษาอันคุ้นตาว่า
"กรุณาอย่าเพิ่งลุกจากที่นั่ง จะมีการแสดงละครเป็นภาษาไทยอีกรอบหนึ่งค่ะ"
OH MY GOD !!! ฟ้าประธานพรมาจริงๆ ได้ดูละครรู้เรื่องสักที ><" !!!
(เห็นไหมว่าผมไม่ได้มั่ว)
ตอนดูจบ (2 รอบ)
ผมหันไปถามเพื่อนๆ และทุกคนลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า .. "พวกเราเข้าไม่ถึงอารมณ์เค้าจริงๆ"
ละครแนวม๊ากกกก...ต่อให้มีภาษาไทย เราก็ยังไม่อินในอารมณ์อยู่ดี
คงเป็นเพราะ เราตั้งใจมาดู Technology มากกว่าละครมั้ง?
แต่ก็สรุปได้ว่า "วิทย์ + ศิลป์ = เจ๋งไปเลย" ขึ้นอยู่กับว่าจะนำเสนอแบบไหนเท่านั้นเองครับ
สรุป
คือผมบรรลุเป้าหมายครับ ได้เจอกับหุ่นยนต์ Geminoid F ตัวจริง กับตาตัวเอง !!!
และได้ดูละครเป็นของแถวครับ ถือว่าสุดยอดจริงๆๆๆ
และได้ดูละครเป็นของแถวครับ ถือว่าสุดยอดจริงๆๆๆ
(ถ่ายภาพหมู่ของผู้จัดทำ หลังแสดงจบ)
ความรู้ที่ได้รับ
(หุ่นยนต์ Geminoid F และคนต้นแบบ)
รูปลักษณะภายนอก
หุ่นยนต์ชื่อว่า Germanoid F ครับ ทำแบบหน้าตามาจากคนจริงๆ
ไม่ใช่คนดังหรือดาราที่ไหนนะครับ รู้แค่ว่า เธอเป็นผู้หญิง ลูกครึ่งรัสเซีย-ญี่ปุ่น
เหตุผลที่เลือกเธอ หน้าตาเธอออกแนวกลางๆ
แสดงอารมณ์ออกมาได้ชัด คือ ยิ้มก็เห็นเป็นยิ้ม โกรธก็เห็นเป็นโกรธ
การควบุคุม
จะใช้การควบคุมด้วยคนจริงๆครับ ด้วยการใช้กล้อง VDO (Image Processing)
ส่องมาที่หน้าคนบังคับ และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
ถ้าคนบังคับขบับหัวขึ้นลง หรือสายหน้า หุ่นยนต์ก็จะทำตามได้ครับ
(รวมทั้งการขยับปาก กระพริบตา)
และเมื่อคนบังคับพูดใส่ไมโครโฟน ระบบจะทำการวิเคราะห์คำพูดน้้น
แล้วทำการควบคุมการขบับปากให้ตรงกับคำพูดด้วย.. (เจ๋ง !)
กลไกเนื่องจากกว่าเป็นหุ่นยนต์ที่ทำมาสำเร็จจากญี่ปุ่น
เราจึงไม่สามรถเห็นภายในได้ครับ
เท่าที่เราสอบถามได้ข้อมูลมาคือ ภายในทำจากโครงสร้างอลูมิเนี่ยม เนื่องจากมีความแข็งแรงและเบา
กลไกต่างๆ ทั้งหมด ขยับได้ด้วยระบบ Pneumatic (อ่านว่า นิวเมติก คือ การลมอัดอากาศ) ครับ
สาเหตุก็เพราะว่า Pneumatic ให้เสียงที่เบากว่า DC motor นั้นเองครับ
อื่นๆ
เราจึงไม่สามรถเห็นภายในได้ครับ
เท่าที่เราสอบถามได้ข้อมูลมาคือ ภายในทำจากโครงสร้างอลูมิเนี่ยม เนื่องจากมีความแข็งแรงและเบา
กลไกต่างๆ ทั้งหมด ขยับได้ด้วยระบบ Pneumatic (อ่านว่า นิวเมติก คือ การลมอัดอากาศ) ครับ
สาเหตุก็เพราะว่า Pneumatic ให้เสียงที่เบากว่า DC motor นั้นเองครับ
อื่นๆ
- ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย ! ที่หุ่นยนต์ตัวนี้มาโชว์ตัว(ยกเว้นญี่ปุ่นนะครับ)
จากนั้นลองมาดู VDO เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้กันอีกทักทีว่าเหมือนที่ผมอธิบายไปรึเปล่า
อ้างอิง http://www.thairobotics.com/2012/02/27/sayonara/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น