วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การทำ PCB Library ในโปรแกรม Altium

สำหรับบทความนี้นะครับจะนำเสนอการทำ PCB Library นะครับ เผื่อใครออกแบบวงจร PCB โดยใช้ Altium แล้วเกิดอาการหาอุปกรณ์ นู่น นี่ นั่น ไม่เจอนะครับ แล้วอยากจะทำ PCB Library เพื่อเติมเองนะครับ ในที่นี้ได้อ้างอิงการทำงานโดยใช้โปรแกรม Altium Designer Summer 09 นะครับ เรามาเริ่มกันเลยครับ....

1. เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้วให้ไปที่ File -> New -> Library -> PCB Library ครับ คลิกเลยเพื่อสร้าง


2. ใน Workspace Panel (Projects) นั้นสังเกตว่าจะมีไฟล์ PcbLib1.PcbLib เกิดขึ้นมาภายใต้ Folder Libraries


3. ดับเบิ้ล-คลิกไฟล์ PcbLib1.PcbLib จะได้พื้นที่ทำงานหน้าตาเป็นตารางๆ (Grid) สีเทา


4. ทำการกำหนดค่า Grid และ Snap Grid เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ โดยเราจะเปลี่ยนให้อยู่ในหน่วย มิลลิเตร เพื่อความคุ้นเคย โดยมีวิธีการดังนี้ คลิกขวาที่พื้นที่ว่าง เลือก Library Option จากนั้นกำหนดค่าตามรูป (Unit->Metric, Snap x-> 0.1mm, Snap y-> 0.1mm, Grid1->1mm, Grid2->10mm, Range->0.1mm) จากนั้นคลิกปุ่ม OK


5. สำรวจแถบเครื่องมือด้านบนเพื่อใช้สร้างอุปกรณ์ให้เรียบร้อย


6. ทำการวาดตัว PCB Library โดยมุมมองที่วาดจะเป็น Top View ให้วาดโดยมีขนาดให้เท่ากับอุปกรณ์ที่จะสร้าง โดยอ้างอิงขนาดจริงของจริง หรือเอกสารประกอบการใช้งาน(Mannual)


7. ทำการวาง Pad ในตำแหน่งที่จะเจาะรู หรือมีเหตุให้ต้องทำการลงตะกั่ว พร้อมทั้งตั้งค่า Pad ให้เหมาะสมและเรียบร้อย (คลิกขวาที่ Pad เลือก Property) และทำการเปลี่ยนชื่อ Pad ให้เรียบร้อยเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ


8. ที่ PCB Library ทางด้านซ้าย ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อ เพื่อเปลี่ยนชื่ออุปกรณ์ตามต้องการ ในที่นี้ใช้ชื่อว่า PCB_SW


9. ทำการเซฟให้เรียบร้อย
10. ทำการสร้าง SCH Library โดยไปที่ File -> New -> Library -> Schematic Library


11. ทำการสร้าง SCH สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการ โดยจำนวนขาควรเท่ากับรูที่ได้ทำไว้ที่ PCB Library
12. ทำการวางขาอุปกรณ์ โดยไปที่เมนูดังรูป


13. ในที่นี้วางไว้ 4 ขา


14. ทำการกำหนดชื่อขา โดยดับเบิ้ลคลิกที่แต่ละขา


15. วางกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อความสวยงาม


16. ให้กรอบสี่เหลี่ยมอยู่ด้านล่างขาให้คลิกที่กรอบสี่เหลี่ยม Edit -> Move -> Send To Back


17. ทำการเพิ่ม Footprint ลงใน SCH Library โดยไปที่ Panel SCH Library แล้วคลิกที่ Edit ในส่วนของ Component
18. ทำการกำหนดค่าต่างๆ โดย Default Designator คือชื่อนำหน้าอุปกรณ์เวลาวางอุปกรณ์ในงาน ส่วน Symbol Reference คือชื่อที่ใช้อ้างอิง จากนั้นกดปุ่ม Add เพื่อเพิ่ม Footprint จากนั้นเลือก Footprint แล้วกด OK


19. ในส่วน Footprint Model เลือก Browse… เลือก Footprint ที่เราได้สร้างไว้ จากนั้นคลิก OK


20. หากต้องการตั้งค่า ขา Pin กับ รู ที่ PCB ให้ตรงกันหรือเป็นไปตามที่ต้องการให้คลิก Pin Map … คลิก OK


21. เสร็จสิ้น
22. เมื่อนำไปใช้งานให้ Import ไฟล์ sch ที่ทำไว้ ก็จะมีอุปกรณ์ที่เราได้ทำไว้เพิ่มขึ้นมา


ไม่ยากใช่ไหมครับ (รึเปล่าฟะ) ถ้ามีอะไรสงสัยถามได้เลยนะครับ แล้วพบกันไหมครับ
By Sanaki

2 ความคิดเห็น:

  1. แล้วถ้าเราทำเสร็จแล้วจะกลับมาแก้ไขอีกคร้ังจะทำได้ไมทำอย่างไรบ้างหรือต้องสร้างไหม่เลยคับ

    ตอบลบ
  2. แล้วถ้าเราทำเสร็จแล้วจะกลับมาแก้ไขอีกคร้ังจะทำได้ไมทำอย่างไรบ้างหรือต้องสร้างไหม่เลยคับ

    ตอบลบ